วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

Internet of Thing กับ Telemedicine

     หากเรามองไปรอบๆตัวเรานั้น จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถพัฒนาเพื่ออำนวยความสะดวกได้มากขึ้นเช่นกัน จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีนั้นมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ผู้คนได้นำเทคโนโลยีเหล่านี้มาเชื่อมเข้ากับสิ่งต่างๆรอบตัว อาทิ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ดังนั้นเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า เทคโนโลยีจำเป็นและสำคัญกับชีวิตเรา โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับทางด้านการแพทย์ ที่จะเป็นประโยชน์กับผู้คนนับแสน นับล้าน และเทคโนโลยีในด้านการแพทย์ที่จะกล่าวถึงนั้นคือ Telemedicine


Telemedicine







Telemedicine คือ การดูแลรักษาผู้ป่วยที่อยู่ทางไกล หรือ จะเรียกอีกอย่างว่า "การแพทย์ทางไกล"


ทางองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “การแพทย์ทางไกล” หรือ “Telemedicine” หมายถึง การจัดให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนที่อยู่ห่างไกลโดยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย การรักษาและการป้องกันโรค รวมถึงการศึกษาวิจัย และเพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษาต่อเนื่องของบุคลากรทางการแพทย์

Telemedicine แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ตามลักษณะการรับส่งข้อมูล ดังนี้


1. Store-and-forward telemedicine (Asynchronous) เป็นการรับและส่ง ข้อมูลด้านการแพทย์ โดยใช้ ภาพต่างๆ เช่น ภาพถ่าย ภาพวิดีโอ เป็นต้น เพื่อที่จะส่งไปให้ยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยโรคและดำเนินการรักษาต่อไปได้ 

ข้อแตกต่างที่สำคัญของการแพทย์แบบเดิมกับการแพทย์ทางไกลประเภทนี้คือ การแพทย์แบบทางไกลจะไม่สามารถสอบถามผู้ป่วยได้ ซึ่งได้แค่วินิจฉัยตามภาพที่ส่งมาเท่านั้น

2. Remote monitoring telemedicine หรือ self-monitoring / testing เป็นการติตตามอากการและการรักษาของผู้ป่วยที่รักษาอย่างต่อเนื่องมานาน เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลได้เนื่องจากอยู่ทางไกล 


ตัวอย่างการใช้วิธี Remote monitoring telemedicine ได้แก่ ผู้ป่วยตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองโดยใช้เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว แล้วส่งผลการตรวจผ่านอุปกรณ์สื่อสาร หรือ จดหมายอิเล็คทรอนิกส์ มาให้แพทย์เพื่อตรวจสอบอาการ และสั่งจ่ายยาได้ โดยที่ผู้ป่วยไม่่จำเป็นต้องเดินทางมายังโรงพยาบาล

3. Interactive telemedicine เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ โดยสามารถพูดคุยสอบถามอาการกันได้ เช่น การพูดคุยสอบถามผ่านทางโทรศัพท์ วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ผู้ที่อยู่โรงพยาบาลอื่นสามารถสอบถามประวัติผู้ป่วย ประเมินสภาพอาการ จากโรงพยาบาลที่มาขอปรึกษาได้ โดยมีแพทย์ที่ขอปรึกษาจากโรงพยาบาลนั้นอยู่กับผู้ป่วยด้วย เพื่อปฏิบัติตามคำแนะนำ


ประโยชน์ของระบบ Telemedicine 


ประการที่หนึ่ สามารถให้ผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ได้ทันที และเป็นการขยายงานของทางการแพทย์ให้ครอบคลุมกับการตรวจรักษาผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลได้สะดวกขึ้น 

ประการที่สอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และ ลดเวลาในการเดินทางไปยังโรงพยาบาล รวมถึงสามารถให้ผู้ป่วยได้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้น้อยลง

 ประการที่สาม ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายจากการรักษาแบบนี้มากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษา




อ้างอิง

http://vachiraphuket.go.th/www/public-health/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=293

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

Raindrop Detection Sensor Module

     หากพูดถึงเซนเซอร์แล้ว ทุกคนก็คงจะคิดถึงเซนเซอร์แสง เซนเซอร์เสียง ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย อาจจะกล่าวได้ว่าเซนเซอร์นั้นมีมากมายหลากหลายชนิดแตกต่างกันออกไป วันนี้เราจึงอยากจะนำเสนอให้คุณได้รู้จักเซนเซอร์อีกตัวที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกได้ไม่ต่างจากเซนเซอร์อื่นๆ นั่นก็คือ!!



Raindrop Detection Sensor Module

        สำหรับการนำ Arduino มาประยุกต์ใช้งานต่างๆ ผู้พัฒนาสามารถใช้เป็นอุปกรณ์เซนเซอร์ได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะใช้เป็นเซนเซอร์วัดวามชื้น อุณหภูมิระดับน้ำ ตรวจจับความเคลื่อนไหวและอื่นๆอีกมากมาย โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบต่างๆ เช่น ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในตู้ฟักไข่ ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเพาะเห็ด เป็นต้น อีกหนึ่งเซนเซอร์ที่น่าสนใจและที่จะมารีวิว คือ โมดูลตรวจจับน้ำฝน (Raindrop Detection Sensor Module)
โมดูลตรวจจับน้ำฝน (Raindrop Detection Sensor Module) เป็นเซนเซอร์ที่ใช้งานง่ายและราคาถูก ใช้สำหรับวัดความชื้นในอากาศและน้ำฝน รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบสภาพอากาศได้ด้วย โดยขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาที่จะเขียนโปรแกรมและต่อใช้งานภายนอกสามารถเชื่อมต่อใช้งานกับบอร์ด Rasberry Pi, Arduino, ARM, MCS-51, AVR, PIC ในสภาพอากาศปกติจะให้ค่าความต้านทานสูง และเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนไปมีฝนตกหรือมีความชื้นในอากาศมาก จะให้ค่าความต้านทานลดต่ำลง สามารถปรับค่าความไวในการตรวจจับได้ (Potentiometer Sensitivity Adjustment) 
โมดูลตรวจจับน้ำฝนสามารถอ่านได้จาก Arduino หรือ Circuit การเปรียบเทียบ หากคุณต้องการที่จะได้เครื่องมือการตรวจสอบปริมาณน้ำฝน สามารถใช้โมดูลนี้ได้ร่วมกับการ์ดจอ เพื่อดูความหลากหลายของสภาพอากาศที่เกิดขึ้


Specification :

- ไฟเลี้ยงโมดูล VCC = 3.3V-5VDC.
- สามารถปรับค่าความไวในการตรวจจับได้ (Potentiometer Sensitivity Adjustment) 
- ให้ค่าสัญญาณเอาท์พุทออกมาเป็นแบบ Digital Output คือ กับ หรือให้ค่าออกมาเป็นแบบAnalog Output (AO) ได้ 
มี LED แสดงสถานะ Power และ Output
โมดูลขนาด 1.5cm.(กว้าง) x 3.2cm.(ยาว) x 1.2cm.(สูง)
Probe ตรวจจับน้ำฝน ขนาด 4.0cm.(กว้าง) x 5.5cm.(ยาว) x 1.0cm.(สูง)
สาย Jumper ยาว (Wire length) 20 cm. 


หากคุณเจอเหตุการณ์ที่ทำให้อารมณ์เสียดังเช่น เวลาฝนตก แล้วเก็บผ้าไม่ทัน เซนเซอร์นี้เป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยเตือนคุณเวลาฝนตก และอาจจะทำให้คุณมีความสุขในเวลาฝนตกแทนก็เป็นได้


http://www.mltelectronic.com/%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9D%E0%B8%99-(Raindrop-Detection-Sensor-Module)

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

ความแตกต่างระหว่าง Ardiuno Nano & NodeMCU

  ในปัจจุบัน อาดุยโน่ มีความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นบอร์ดที่สามารถใช้งานได้ง่าย แต่ก็ยังมีบอร์ดอีกหลายตัวที่เรายังไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก เราจึงได้หยิบยกบอร์ดอีกชนิดขึ้นมา ให้เห็นถึง คุณสมบัติ และความแตกต่างกับบอร์ดอาดุยโน่  ซึ่งเมื่อคุณรู้ถึงคุณสมบัติของมัน ก็อาจจะหลงรักบอร์ดตัวนี้ก็เป็นได้ และบอร์ดนี้มีชื่อว่า NodeMCU Devkit นั่นเอง


Arduino

      Arduino อ่านว่า อาดุยโน่ หรือ อา-ดู-อิ-โน่ เป็นภาษาอิตาเลียน โดยผู้คิดค้นคือชาวอิตาเลียน ชื่อว่า Massimo Banzi และ David Cuartielles เริ่มต้นคิดค้นเมื่อปี 2005 แนวความคิดของพวกเขาคือ สร้างอุปกรณ์ประเภทไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีราคาถูก ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา Arduino เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ที่มีการพัฒนาแบบ Open Source คือเปิดเผยข้อมูลทั้งในส่วนของ Hardware รวมถึง Software ด้วย สามารถพัฒนาได้บนพื้นฐานของระบบ Wiring ซึ่ง Arduino จะมีหลายรุ่นแตกต่างกันไป



Specification:

Microcontroller                                  Atmel ATmega168 or ATmega328
Operating Voltage (logic level)           5 V
Input Voltage (recommended)            7-12 V
Input Voltage (limits)                         6-20 VDigital 
I/O Pins                                             14 (of which 6 provide PWM output)
Analog Input Pins                             8
DC Current per I/O Pin                      40 mA
Flash Memory                                   16 KB (ATmega168) or 32 KB (ATmega328) of which 2 KB used by bootloader
SRAM                                                1 KB (ATmega168) or 2 KB (ATmega328)
EEPROM                                           512 bytes (ATmega168) or 1 KB (ATmega328)
Dimensions                                       0.73" x 1.70"
Length                                              45 mm
Width                                                18 mm
Weigth                                              5 g
Clock Speed                                     16 MHz
Language                                          C,C++







NodeMCU Devkit

      NodeMCU Devkit เป็นบอร์ดที่รวมโมดูล ESP8266 รุ่น ESP-12 กับวงจร USB TTL และเป็น open-source firmware ที่ช่วยให้ใช้งานเกี่ยวกับ  IOT (Internet of Thing) ได้อย่างง่าย ซึ่งมีUSB รุ่นล่าสุดคือ 1.0

Specification:

Wi-Fi Module                      ESP-12E module similar to ESP-12 module but with 6 extra GPIOs.
USB                                    Micro USB port for power, programming and debugging
Headers                              2x 2.54mm 15-pin header with access to GPIOs, SPI, UART,                                                     ADC, and power pins
Misc                                   Reset and Flash buttons
Power                                5V via micro USB por
tDimensions                      49 x 24.5 x 13mm
Language                           Luas


ความแตกต่างระหว่าง  Ardiuno  Nano & NodeMCU 

1.NodeMCU มีการใช้งานที่ง่ายกว่า 
2.NodeMCU สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้
3.NodeMCU ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะ
4.NodeMCU สามารถลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนของ Hardware



อ้างอิง

http://www.arduitronics.com/product/800/nodemcu-version-1-esp-12-wifi-networking-development-board-esp8266
https://www.arduino.cc/en/Main/ArduinoBoardNano
http://www.cnx-software.com/2015/04/18/nodemcu-is-both-a-breadboard-friendly-esp8266-wi-fi-board-and-a-lua-based-firmware/
http://www.seeedstudio.com/depot/NodeMCU-v2-Lua-based-ESP8266-development-kit-p-2415.html
http://thaiopensource.org/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99-nodemcu-devkit-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99/