วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

Internet of Thing กับ Telemedicine

     หากเรามองไปรอบๆตัวเรานั้น จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถพัฒนาเพื่ออำนวยความสะดวกได้มากขึ้นเช่นกัน จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีนั้นมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ผู้คนได้นำเทคโนโลยีเหล่านี้มาเชื่อมเข้ากับสิ่งต่างๆรอบตัว อาทิ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ดังนั้นเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า เทคโนโลยีจำเป็นและสำคัญกับชีวิตเรา โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับทางด้านการแพทย์ ที่จะเป็นประโยชน์กับผู้คนนับแสน นับล้าน และเทคโนโลยีในด้านการแพทย์ที่จะกล่าวถึงนั้นคือ Telemedicine


Telemedicine







Telemedicine คือ การดูแลรักษาผู้ป่วยที่อยู่ทางไกล หรือ จะเรียกอีกอย่างว่า "การแพทย์ทางไกล"


ทางองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “การแพทย์ทางไกล” หรือ “Telemedicine” หมายถึง การจัดให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนที่อยู่ห่างไกลโดยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย การรักษาและการป้องกันโรค รวมถึงการศึกษาวิจัย และเพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษาต่อเนื่องของบุคลากรทางการแพทย์

Telemedicine แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ตามลักษณะการรับส่งข้อมูล ดังนี้


1. Store-and-forward telemedicine (Asynchronous) เป็นการรับและส่ง ข้อมูลด้านการแพทย์ โดยใช้ ภาพต่างๆ เช่น ภาพถ่าย ภาพวิดีโอ เป็นต้น เพื่อที่จะส่งไปให้ยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยโรคและดำเนินการรักษาต่อไปได้ 

ข้อแตกต่างที่สำคัญของการแพทย์แบบเดิมกับการแพทย์ทางไกลประเภทนี้คือ การแพทย์แบบทางไกลจะไม่สามารถสอบถามผู้ป่วยได้ ซึ่งได้แค่วินิจฉัยตามภาพที่ส่งมาเท่านั้น

2. Remote monitoring telemedicine หรือ self-monitoring / testing เป็นการติตตามอากการและการรักษาของผู้ป่วยที่รักษาอย่างต่อเนื่องมานาน เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลได้เนื่องจากอยู่ทางไกล 


ตัวอย่างการใช้วิธี Remote monitoring telemedicine ได้แก่ ผู้ป่วยตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองโดยใช้เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว แล้วส่งผลการตรวจผ่านอุปกรณ์สื่อสาร หรือ จดหมายอิเล็คทรอนิกส์ มาให้แพทย์เพื่อตรวจสอบอาการ และสั่งจ่ายยาได้ โดยที่ผู้ป่วยไม่่จำเป็นต้องเดินทางมายังโรงพยาบาล

3. Interactive telemedicine เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ โดยสามารถพูดคุยสอบถามอาการกันได้ เช่น การพูดคุยสอบถามผ่านทางโทรศัพท์ วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ผู้ที่อยู่โรงพยาบาลอื่นสามารถสอบถามประวัติผู้ป่วย ประเมินสภาพอาการ จากโรงพยาบาลที่มาขอปรึกษาได้ โดยมีแพทย์ที่ขอปรึกษาจากโรงพยาบาลนั้นอยู่กับผู้ป่วยด้วย เพื่อปฏิบัติตามคำแนะนำ


ประโยชน์ของระบบ Telemedicine 


ประการที่หนึ่ สามารถให้ผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ได้ทันที และเป็นการขยายงานของทางการแพทย์ให้ครอบคลุมกับการตรวจรักษาผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลได้สะดวกขึ้น 

ประการที่สอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และ ลดเวลาในการเดินทางไปยังโรงพยาบาล รวมถึงสามารถให้ผู้ป่วยได้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้น้อยลง

 ประการที่สาม ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายจากการรักษาแบบนี้มากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษา




อ้างอิง

http://vachiraphuket.go.th/www/public-health/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=293

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น